Subscribe:

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละภาค




ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

ภาคใต้


งานแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ชิงถ้วยพระราชทานคลองในหลวง (หัววัง - พนังตัก)
            เนื่องจากจังหวัดชุมพรประสบปัญหาอุทกภัย ทำให้ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นมูลค่ามหาศาลทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย
โดยจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ (แก้มลิงธรรมชาติ) และขุดคลองหัววัง-พนังตัก เพื่อระบายน้ำ
ลงสู่ทะเล ทำให้ชาวจังหวัดชุมพร รอดพ้นจากปัญหาอุทกภัยอย่างถาวร ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนิน
ทอดพระเนตรคลองหัววัง - พนังตัก บนสะพานอาภากร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชเสาวนีย์ว่าจะจัดแข่งขันเรือ บริเวณนี้ เพราะมีคันคลองเป้นชั้นๆ เหมือนอัฒจันทร์ จังหวัดชุมพรจึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงชิงถ้วยพระราชทานฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กำหนด
จัดงานระหว่างเดือนสิงหาคม- กันยายนของทุกปี ณ บริเวณคลอง ในหลวง(หัววัง-พนังตัก) ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 



ภาคกลาง

ประเพณีวิ่งควายชื่อประเพณี :  วิ่งควาย
จังหวัด :
   ชลบุรี
ช่วงเวลา :

          ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ : 

          ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม
ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให ้
ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อน
และได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควาย
ได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา  
          ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

พิธีกรรม :

            ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้าเพื่อให้ควายได้พัก
จากการไถนาชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่ง
อย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วยก็ขี่ควายเดิน
ไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน
ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือ
โดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

สาระ : 

            แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน
และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน
ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษาซึ่งเป็นวันใกล้สิ้น
ฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่
จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้
เพราะเป็นวันพระชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียน
บรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมือง
จะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง  ทำบุญตักบาตรวันเทโวโรหนะ
วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของ
ไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ
และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย
               ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึง  จัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง   จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี   จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด



ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา  ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา"  หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ  ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผาง  ปะติ๊ด)  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


วัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน




วัฒนธรรมประเพณีภาคตะวันออก



วัฒนธรรมประเพณีภาคตะวันตก



วัฒนธรรมประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น