Subscribe:

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์กับเศรษฐกิจพอพียง

                   

           คอมพิวเตอร์กับเศรษฐกิจพอพียง


             เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พวกเราชาวไทยมานานกว่า30ปี พระองค์ได้ทรงเน้นย้ำให้พวกเราใช้เป็นแนวทางการแก้ไข เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทุกๆด้าน ดังนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเน้นการปฏิบัติที่ไม่ประมาท นั่นคือ เน้นให้เราดำเนินชีวิตบน “ ทางสายกลาง “ก็คือ ความพอเหมาะพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะ  แต่ก็ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือประหยัดจนขาดแคลน จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์นั้นทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส.ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย  พระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง พระองค์ท่านทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง 
          ในการใช้คอมพิวเตอร์ก็สามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น ด้านการจัดการภาครัฐ ในส่วนงานทะเบียนราษฎร์ คือ การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน ด้านธุรกิจทั่วไป ในส่วนงานการทำบัญชี รายการซื้อขาย งานเรียบเรียงเอกสาร ด้านโทรคมนาคมในส่วนงานการสำรองที่นั่งผู้โดยสารของสายการบินซึ่งเป็นการลดปริมาณของเอกสาร ด้านการศึกษาซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอน เช่น การเรียนผ่านระบบออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ในส่วนงานการจัดเก็บข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ การวิจัย  คำนวณและการจำลองแบบ คอมพิวเตอร์สามารถเข้ามาช่วยจัดการการทำงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ลดทั้งภาระงานและประหยัดเวลาในการทำงานด้านต่างๆ   
          ทั้งนี้  ผู้ใช้งานต้องศึกษาหลักการใช้คอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องมีความรอบรู้ในงานที่จะทำ คือ รู้ถึงความต้องการและความจำเป็นที่จะใช้งาน ไม่วิ่งตามเทคโนโลยีจนเกินไป ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องซื้อที่เพิ่งวางจำหน่ายและมีราคาแพงมาก ไม่ควรมองที่รูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัยมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าที่จำเป็น  ต้องศึกษาข้อดีข้อด้อยของเครื่องแบบต่างๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันก่อนที่จะตัดสินใจ และไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ไปละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น  ควรใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อตนเองและสังคม

เรื่อง ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค