Subscribe:

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละภาค




ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

ภาคใต้


งานแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ชิงถ้วยพระราชทานคลองในหลวง (หัววัง - พนังตัก)
            เนื่องจากจังหวัดชุมพรประสบปัญหาอุทกภัย ทำให้ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นมูลค่ามหาศาลทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย
โดยจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ (แก้มลิงธรรมชาติ) และขุดคลองหัววัง-พนังตัก เพื่อระบายน้ำ
ลงสู่ทะเล ทำให้ชาวจังหวัดชุมพร รอดพ้นจากปัญหาอุทกภัยอย่างถาวร ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนิน
ทอดพระเนตรคลองหัววัง - พนังตัก บนสะพานอาภากร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชเสาวนีย์ว่าจะจัดแข่งขันเรือ บริเวณนี้ เพราะมีคันคลองเป้นชั้นๆ เหมือนอัฒจันทร์ จังหวัดชุมพรจึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงชิงถ้วยพระราชทานฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กำหนด
จัดงานระหว่างเดือนสิงหาคม- กันยายนของทุกปี ณ บริเวณคลอง ในหลวง(หัววัง-พนังตัก) ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 



ภาคกลาง

ประเพณีวิ่งควายชื่อประเพณี :  วิ่งควาย
จังหวัด :
   ชลบุรี
ช่วงเวลา :

          ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ : 

          ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม
ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให ้
ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อน
และได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควาย
ได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา  
          ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

พิธีกรรม :

            ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้าเพื่อให้ควายได้พัก
จากการไถนาชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่ง
อย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วยก็ขี่ควายเดิน
ไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน
ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือ
โดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

สาระ : 

            แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน
และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน
ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษาซึ่งเป็นวันใกล้สิ้น
ฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่
จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้
เพราะเป็นวันพระชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียน
บรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมือง
จะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง  ทำบุญตักบาตรวันเทโวโรหนะ
วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของ
ไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ
และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย
               ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึง  จัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง   จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี   จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด



ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา  ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา"  หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ  ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผาง  ปะติ๊ด)  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


วัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน




วัฒนธรรมประเพณีภาคตะวันออก



วัฒนธรรมประเพณีภาคตะวันตก



วัฒนธรรมประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ











วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

มารู้จักอาเซียนกันเถอะ

 
อาเซียนกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
อาเซียนก็เป็นอีกหนึ่งคำที่คนไทยรู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็เพิ่งรู้จัก แต่อีกหลายๆคนก็รู้จักคำนี้เป็นอย่างดีแล้ว ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่กำลังตื่นตัวและเป็นพลังสำคัญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งไทยยังมีบทบาทมากมายด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในตัวอาเซียนเอง รวมไปถึงทั่วโลกอีกด้วย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน
อาเซียน(ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เหลือเพียงตีมอร์ตะวันออก ที่เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังไม่เป็นสมาชิก แต่ก็พยายามที่จะเป็นสมาชิกอยู่
ในปัจจุบัน คิดเป็นพื้นที่ของกลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) โดยส่วนใหญ่มีมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกก็มีหลากหลายโดยเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เกษตร มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย
สำหรับเป้าหมายของการตั้งกลุ่มอาเซียนนั้น จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของอาเซียนไว้จำนวนหกข้อ ดังนี
  1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
  2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
  3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
  4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
  5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
  6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ


ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้น แต่ละประเทศก็มีเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงสุดในอาเซียนก็คือ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีองค์กรที่ชื่อว่า The Agency for Science, Technology and Research ( A*STAR) เป็นหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะที่ให้การสนับสนุน การวิจัย พัฒนาทางการแพทย์และด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความโดดเด่นทั่วโลก อีกทั้งสิงคโปร์ยังมีกองทัพทันสมัยที่สุดในอาเซียน
หลายคนอาจสงสัยว่าอาเซียนกับเทคโนยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มีความเชื่อมโยงกับอย่างไร ให้ทุกคนนึกถึงเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่ง กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้สิ่งที่เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งหนึ่งในมูลค่าการค้าเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ เรื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในส่วนของหมวดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างกันของกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ แผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน 2015 (ASEAN ICT Masterplan 2015) ซึ่งมีจุดหมายสำคัญคือ จะใช้ไอซีทีในการขับเคลื่อนด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียน ไอซีทีจะช่วยการปฎิรูปอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว ด้วยวิธีพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียุคใหม่ และพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีฝีมือส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม จัดให้มีนโยบายส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบ ด้วยมาตรการดังกล่าว อาเซียนจะเสริมสร้างพลังให้แก่ชุมชน และผลักดันให้อาเซียนมีสถานภาพเป็นศูนย์กลางไอซีที ที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง และคืกคัก ส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เหมาะกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยีหลายท่านน่าจะรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ชาวบ้านทั่วไปอาจไม่ทราบความหมายที่แท้จริง เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ หลายท่านอาจจะยังงงอยู่ อธิบายง่ายๆ เช่น ทรายที่เราเห็นอยู่ตามพื้นดิน ตามชายหาด ซึ่งมีธาตุที่มีชื่อว่าซิลิกอน ซึ่งแน่นอนทรายที่เราเห้นนี้อาจไม่มีค่า หรือมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป เมื่อมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และจากจำนวนล้านๆทรานซิสเตอร์ก็บรรจุรวมกันเป็นไอซี (Integrated Circuit : IC) มีราคาสูงขึ้นมาจากทรายธรรมดามาก นั้นทำให้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ ความหมายง่ายๆก็คือ ความรู้ที่เราได้มาจากข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ช่วงนี้ฝนตกบ่อย เป็นข้อความที่มีข้อมูลแต่ยังไม่ผ่านกระบวนการให้เหมาะสม แต่ถ้าเราบอกว่า ที่ปัตตานีตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนเป็นฤดูร้อน นั่นเอง จึงเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และผ่านการประมวลผลแล้ว ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ดังนั้นเราจึงสรุปได้สั้นๆว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็คือ การพัฒนาด้านต่างๆเพื่อใช้กับข้อมูลข่าวสาร อาทิเช่น    การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล เป็นต้น ซึ่งนอกจากนี้อาจจะรวมไปถึงการสร้างระบบต่างๆ เช่น ระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
ในยุคปัจจุบันไม่ว่าเราจะหาข้อมูล ติดต่อ ค้นหา ศึกษาระหว่างกัน ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ไม่ว่าใกล้ไกลอย่างไรก็ต้องผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศนั่นเอง

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์กับเศรษฐกิจพอพียง

                   

           คอมพิวเตอร์กับเศรษฐกิจพอพียง


             เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พวกเราชาวไทยมานานกว่า30ปี พระองค์ได้ทรงเน้นย้ำให้พวกเราใช้เป็นแนวทางการแก้ไข เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทุกๆด้าน ดังนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเน้นการปฏิบัติที่ไม่ประมาท นั่นคือ เน้นให้เราดำเนินชีวิตบน “ ทางสายกลาง “ก็คือ ความพอเหมาะพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะ  แต่ก็ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือประหยัดจนขาดแคลน จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์นั้นทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส.ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย  พระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง พระองค์ท่านทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง 
          ในการใช้คอมพิวเตอร์ก็สามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น ด้านการจัดการภาครัฐ ในส่วนงานทะเบียนราษฎร์ คือ การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน ด้านธุรกิจทั่วไป ในส่วนงานการทำบัญชี รายการซื้อขาย งานเรียบเรียงเอกสาร ด้านโทรคมนาคมในส่วนงานการสำรองที่นั่งผู้โดยสารของสายการบินซึ่งเป็นการลดปริมาณของเอกสาร ด้านการศึกษาซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอน เช่น การเรียนผ่านระบบออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ในส่วนงานการจัดเก็บข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ การวิจัย  คำนวณและการจำลองแบบ คอมพิวเตอร์สามารถเข้ามาช่วยจัดการการทำงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ลดทั้งภาระงานและประหยัดเวลาในการทำงานด้านต่างๆ   
          ทั้งนี้  ผู้ใช้งานต้องศึกษาหลักการใช้คอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องมีความรอบรู้ในงานที่จะทำ คือ รู้ถึงความต้องการและความจำเป็นที่จะใช้งาน ไม่วิ่งตามเทคโนโลยีจนเกินไป ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องซื้อที่เพิ่งวางจำหน่ายและมีราคาแพงมาก ไม่ควรมองที่รูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัยมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าที่จำเป็น  ต้องศึกษาข้อดีข้อด้อยของเครื่องแบบต่างๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันก่อนที่จะตัดสินใจ และไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ไปละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น  ควรใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อตนเองและสังคม

เรื่อง ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค